เฉลยแบบฝึกหัดทฤษฎีใบขับขี่สวีเดน ฉบับ 2025 Facit - Övningsfrågor

แบบฝึกท้ายบท บทที่ 1


  1. ตอบ: 25 กม./ชม.
  1. ตอบ: น้ำหนักรวม (Totalvikt)
  1. ตอบ: 24 ปี

  1. ตอบ: รวมกันอย่างน้อย 5 ปี ภายในรอบ 10 ที่ผ่านมา

  1. ตอบ: 1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล   2. รถบรรทุกขนาดเบาที่มีน้ำหนักรวมสูงสุดไม่เกิน 3.5 ตัน   3. รถยนต์ส่วนบุคคลพ่วงด้วยพาหนะพ่วงขนาดเบา

  1. ตอบ: 8 ที่นั่ง

  1. ตอบ: รถป๊อปประเภท 1

  1. ตอบ: 45 กม./ชม.

  1. ตอบ: 1. ทำผิดข้อหาขับขี่ขณะมึนเมา   2. ทำผิดข้อหายาเสพติด   3. ขับฝ่าไฟแดง

  1. ตอบ: ได้

แบบฝึกท้ายบท บทที่ 2

  1. ตอบ: ทุกคนที่อยู่บนบริเวณที่เรียกว่าถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารยานพาหนะ ผู้ขี่ม้าตามข้างทาง คนเดินถนน หรือผู้เล่นสเก็ตบอร์ด เป็นต้น
  1. ตอบ: มีผลบังคับเริ่มจากจุดที่ป้ายตั้งอยู่ไปจนถึงทางแยกข้างหน้า หากไม่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น
  1. ตอบ: 1. ป้ายห้ามแซง   2. ป้ายทางเอก   3. ป้ายเขตชุมชน

  1. ตอบ: 1. ถนน   2. ทางเดินรถ   3. เลน

  1. ตอบ: หมายถึง ความกว้างทั้งหมดของทาง ตลอดจนทางสำหรับจักรยาน ทางเท้า ทางขี่ม้าที่ติดกับถนน และไหล่ทาง นอกจากนี้ยังรวมถึงตรอก ซอย ลาน หรือจตุรัสที่ปกติใช้เพื่อให้ยานยนต์ (motorfordon) สัญจรไปมาด้วย

  1. ตอบ: 1. เวลามืดไม่ควรใช้ไหล่ทาง   2. เมื่อเริ่มเข้าสู่ทางขึ้น ลงเนินหรือทางโค้ง   3. บริเวณก่อนถึงทางแยก

  1. ตอบ: เป็นสามเหลี่ยม มีพื้นสีเหลืองและขอบสีแดง

  1. ตอบ: เป็นวงกลม มีพื้นสีเหลืองและขอบสีแดง

  1. ตอบ: ก. ทางแยกข้างหน้า หรือ   ข. มีป้ายสิ้นสุดของป้ายห้ามนั้นๆ  หรือ   ค. มีป้ายเสริมบอก

  2. ตอบ: หมายถึงเวลาของวันที่เป็นตัวสีแดงตามปฏิทิน เช่น วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ เช่น วันชาติสวีเดน วันมิดซัมเมอร์ วันคริสต์มาส เป็นต้น
  3. ตอบ: 1. วางแผนการเดินทาง 2. เผื่อเวลาให้เพียงพอ จะได้ไม่เร่งรีบ และไม่เครียด 3. ขับรถอย่างนุ่มนวล และใจเย็น

แบบฝึกท้ายบท บทที่ 3

  1. ตอบ: ได้ โดยดูว่าถนนเส้นนั้นเป็นถนนในเขตที่อยู่อาศัย บ้านพัก บ้านจัดสรร บริเวณโรงเรียน หรือเป็นถนนในเมือง หรือนอกเมือง เป็นต้น
  1. ตอบ: 30 กม./ชม.
  2. ตอบ: ไม่ได้ สัญญาณไฟหรือแตรรถยนต์ ใช้สำหรับกรณีที่จำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายเท่านั้น
  3. ตอบ: เมื่อเห็นเด็กเล่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เมื่อมีจักรยานสองคันตีคู่กันมา หรือเมื่อรถที่จอดอยู่เริ่มมีคนเปิดประตูออกมา
  4. ตอบ: เพื่อเตือนรถที่มาข้างหลังให้รู้ตัวว่าเรากำลังจะชะลอความเร็วลง หรือกำลังจะหยุดรถ
  5. ตอบ: หากเปิดเร็วเกินไป อาจจะทำให้คนอื่นเข้าใจผิดและสับสนได้
  6. ตอบ: จะขับรถจากริมทางเข้าสู่ทางเดินรถ  จะกลับรถ  จะเลี้ยวรถบริเวณทางแยก  จะเปลี่ยนเลน หรือจะเคลื่อนรถไปทางด้านข้างไม่ว่ากรณีใดๆ
  7. ตอบ: เปิดเตือนภัยรถคันอื่นๆ ในกรณีที่รถดับฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อมีการลากรถ
  8. ตอบ: อาจจะมีเด็กอยู่หลังพุ่มไม้ หลังรั้ว หรือหลังรถที่จอดอยู่ ซึ่งเขาอาจจะโผล่ออกมาเมื่อไหร่ก็ได้
  9. ตอบ: เพราะเด็กยังไม่รู้เดียงสา ไม่รู้จักระมัดระวังเหมือนผู้ใหญ่  เด็กมักจะทำอะไรปุบปับและห่วงเล่น นอกจากนี้แล้วเด็กยังกะระยะไม่เป็นเหมือนผู้ใหญ่ด้วย
  10. ตอบ: เพราะประสาทหูและประสาทตาของเขายังพัฒนาไม่เต็มที่ และยังขาดประสบการณ์
  11. ตอบ: เผื่อใจไว้ว่าบริเวณนั้นต้องมีเด็กอยู่แน่นอน แต่เราอาจจะมองไม่เห็นเพราะรถอาจบังอยู่  และเราต้องขับผ่านด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด  ลดความเร็วลงและเตรียมพร้อมที่จะเบรกทันทีหากจำเป็น
  12. ตอบ: ไม่
  13. ตอบ: ลดความเร็วลงและหยุดรถเมื่อเห็นว่ามีเด็กรอข้ามถนนอยู่
  14. ตอบ: หากเขาจะเริ่มเดิน เขาจะยื่นไม้เท้าเฉียงไปข้างหน้า  แต่หากเขาต้องการยืนอยู่กับที่ เขาจะชันไม้เท้าลงไปตรงๆ ตั้งฉากกับพื้น
  15. ตอบ: สุนัขนำทางจะมีสายรัดสีขาว (vit sele)
  16. ตอบ: เวลาที่ท่านจะต้องผ่านทางแยก
  17. ตอบ: เพราะจะทำให้ม้าตกใจกลัว
  18. ตอบ: พยายามหาที่มาและทิศทางของเสียง และเตรียมพร้อมเพื่อเปิดทางให้โดยการชะลอความเร็วลงและหลบเข้าข้างทางหากรถนั้นวิ่งมาทางเดียวกับเรา และบางครั้งเราอาจจะต้องหยุดรถด้วย
  19. ตอบ: จะมีป้าย “สิ้นสุดทางเอก” บอกไว้


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 4

  1. ตอบ: ตามลานจอดรถ และลานกว้างอื่นๆ
  2. ตอบ: 
    • บริเวณวงเวียน
    • บริเวณที่มีการใช้ “เลนเร่งความเร็ว” (accelerationsfält) เพื่อขับเข้าสู่มอเตอร์เวย์
    • บริเวณที่มีป้ายให้ทาง และป้ายหยุด
  3. ตอบ: ถ้าเราจะขับออกสู่ถนนทั่วไป เราต้องให้ทางรถทุกคันที่อยู่บนถนน ไม่ว่ารถเหล่านั้นจะมาจากทางซ้ายหรือทางขวา ทั้งนี้ก็เพราะว่าความเร็วของรถเรามักจะต่ำกว่ารถที่วิ่งอยู่บนถนนมาก
  4. ตอบ: 
    • ปั๊มน้ำมัน  
    • อาคารบ้านเรือน  
    • ถนนคนเดิน
  5. ตอบ: ไม่ แต่ก็ควรลดความเร็วลงและระมัดระวังว่าอาจจะมีผู้โดยสารที่เพิ่งลงจากรถวิ่งตัดถนนออกมาจากด้านหน้ารถประจำทางได้
  6. ตอบ: กรณีมีพื้นที่ซึ่งทางการได้จัดสรรไว้สำหรับการจอดรถโดยเฉพาะ ก็สามารถจอดได้ เพราะป้ายจอดมีผลบังคับใช้ก่อนกฎทั่วๆ ไป
  7. ตอบ: ทางม้าลายแบบไม่มีสัญญาณไฟ หรือไม่มีตำรวจยืนให้สัญญาณ รวมทั้งจุดที่มีสัญญาณไฟ แต่สัญญาณไม่ทำงาน
  8. ตอบ: เพราะจะทำให้เขาไม่มองทางเอง และอาจถูกรถเลนข้างๆ เราชนได้
  9. ตอบ: 
    • ผู้นั่งเก้าอี้ล้อเข็น (rullstol) ที่ใช้ความเร็วเท่ากับคนเดิน 
    • ผู้ใช้รองเท้าสเก็ต (rullskridskor)
    • คนเดินจูงจักรยาน
  10. ตอบ: จักรยานมีแค่สองล้อ ทรงตัวได้ยาก จึงอาจเสียหลักและเซมาทางรถเราได้ ดังนั้นเมื่อเราจะแซงจักรยาน เราต้องเว้นระยะห่างด้านข้างให้มากๆ
  11. ตอบ: ช่วยแก้ไขสถานการณ์โดยการเบรก และพยายามชิดขวาให้มากเพื่อช่วยให้เขาแซงให้พ้น
  12. ตอบ: เลนซ้ายสุด
  13. ตอบ: รถคันที่ขับบนฝั่งที่มีสิ่งกีดขวางต้องให้ทางรถที่สวนมาไปก่อน
  14. ตอบ: รถจักรยาน และรถป๊อปประเภท 2
  15. ตอบ: ช่องจราจรหรือเลนที่สามารถใช้เดินรถได้ทั้งสองทิศทาง  โดยอาศัยสัญญาณไฟเป็นตัวกำหนดว่าเวลานั้นๆ จะใช้เลนนั้นสำหรับขับไปในทิศทางใด
  16. ตอบ: ปฏิบัติตามสัญญาณจากตำรวจก่อน
  17. ตอบ: มี เช่น ผู้คุมลานจอดรถ  ผู้คุมการจราจรระหว่างงานก่อสร้างหรือซ่อมแซมถนน ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องสวมชุดเครื่องแบบที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าเขามีอำนาจสั่งและหยุดการจราจรได้
  18. ตอบ: ให้ปฏิบัติตามไฟดวงกลมซึ่งเป็นไฟหลักแทน
  19. ตอบ: ให้ปฏิบัติตามป้ายจราจรที่ติดตั้งอยู่บริเวณนั้น
  20. ตอบ: ให้ใช้กฎการให้ทางรถที่มาจากทางขวามือ
  21. ตอบ: เราต้องให้ทางรถที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน
  22. ตอบ: ให้สัญญาณโดยการเปิดไฟเลี้ยวขวา
  23. ตอบ: เราต้องขับช้าๆ ตามหลังคนเดินเท้า และรอให้รถที่สวนมาขับผ่านไปก่อน  แล้วเราจึงขับแซงคนเดินเท้าได้

แบบฝึกท้ายบท บทที่ 5

  1. ตอบ: ไม่ได้ บนทางเอกตลอดจนไหล่ทางของทางเอก ห้ามจอดรถ ไม่ว่าจะเป็นถนนในเมืองหรือนอกเมือง
  2. ตอบ: เพราะป้ายจราจรจะมีผลบังคับใช้ก่อนกฎจราจรทั่วไป (ในที่นี้กฎจราจรทั่วไปบอกว่าห้ามจอดรถบนทางเอก)
  3. ตอบ: หยุดบริเวณก่อนที่จะขับออกสู่ถนนที่มีเส้นทางเดินรถตัดกับถนนของเรา(korsande väg) โดยเลือกหยุดตรงจุดที่เราสามารถมองเห็นทางได้ดีที่สุด
  4. ตอบ: ห้ามหยุดบนทางม้าลาย และห้ามหยุดในระยะ 10 เมตร ก่อนถึงทางม้าลาย
  5. ตอบ: 
    • ห้ามจอดภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงและหลังจากข้ามทางรถไฟ 
    • ห้ามจอดบนทางเอก 
    • ห้ามจอดบริเวณที่กีดขวางการเข้า-ออกอาคารบ้านเรือนของผู้อื่น
  6. ตอบ: วันธรรมดา (ที่ไม่ใช่วันหยุดราชการ)


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 6

  1. ตอบ: เพราะกวางมูสที่โตเต็มที่จะมีขนาดตัวสูง และมีน้ำหนักถึง 700 กก.  เมื่อเกิดการชนขึ้น แรงกระแทกทั้งหมดจะพุ่งไปที่กระจกหน้าเต็มกำลัง ทำให้ผู้อยู่ในรถยนต์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกว่าการชนสัตว์ชนิดอื่นๆ
  2. ตอบ: เพราะรถไฟมีน้ำหนักมากและวิ่งด้วยความเร็วสูง ทำให้ไม่สามารถเบรกได้ทันท่วงทีหากมีสถาณการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
  3. ตอบ: สีส้ม เพราะเครื่องหมายสีส้มมีผลบังคับใช้ก่อนเครื่องหมายสีอื่นๆ
  4. ตอบ: เป็นป้ายบอกทางพื้นสีเหลืองขอบสีแดง
  5. ตอบ: ขาดการบำรุงรักษา และขาดแคลนป้ายจราจร
  6. ตอบ: เราควรระลึกไว้เสมอว่าต้องขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเจอจุดที่ตัดกับทางรถไฟโดยไม่มีป้ายเตือน หรือทางนั้นอาจไปโผล่ออกสู่ทางเอกโดยไม่มีป้ายให้ทางเตือนไว้  นอกจากนี้อาจจะต้องเจอทางตันโดยไม่รู้ล่วงหน้าอีกด้วย


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 7

  1. ตอบ: หมายถึงทางเบี่ยงออกขวาเพื่อหลีกเลี่ยงการเลี้ยวซ้ายโดยตรงจากถนนใหญ่ หากต้องการเลี้ยวซ้าย ต้องเริ่มต้นด้วยการเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางเบี่ยงก่อน แล้วจึงขับข้ามถนนใหญ่
  2. ตอบ: มักได้รับบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอและกล้ามเนื้อรอบๆ คอ ที่เรียกว่า Whiplash หรือ Nackskador
  3. ตอบ: อนุญาตให้แซงพาหนะสองล้อที่ไม่มีกระบะพ่วงข้างได้
  4. ตอบ: ให้ขับสวนกับเครื่องจักรดังกล่าวตรงฝั่งที่เหมาะสมกับสถานการณ์และปลอดภัยที่สุด
  5. ตอบ: 1.  หากจุดตัดทางรถไฟนั้นมี ก. สัญญาณไฟสามสี (แดง เหลือง และเขียว) หรือ ข. มีเครื่องกั้น  หรือมีทั้งสองอย่าง => อนุญาตให้แซงพาหนะสองล้อที่ไม่มีกระบะพ่วงข้างได้
  6. ตอบ: ไม่ได้ บริเวณนี้ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ  กฎหมายห้ามขับแซงพาหนะทุกประเภท แม้แต่จักรยานธรรมดาเราก็แซงไม่ได้

แบบฝึกท้ายบท บทที่ 8

  1. ตอบ: ทำให้เราไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองขับด้วยความเร็วสูงเกินไป  เมื่อจำเป็นต้องเบรกกระทันหัน จึงทำให้ไม่สามารถประเมินระยะเบรกได้อย่างถูกต้อง ทำให้อาจจะเหยียบเบรกช้าและเบาเกินไป อันเป็นเหตุให้หยุดรถได้ไม่ทันท่วงที
  2. ตอบ: เมื่อเราขับรถบนถนนขนาดใหญ่ กว้าง และเรียบ และรถที่เราขับมีเสียงเบาเป็นเวลานาน เช่น ขับบนมอเตอร์เวย์
  3. ตอบ: เราควรสอดส่ายสายตาอยู่ตลอดเวลา และพยายามสำรวจบริเวณข้างทางในขณะที่ขับขี่อยู่เสมอ
  4. ตอบ: การขับรถด้วยความเร็วสูง  ความเหนื่อยล้า  ความง่วง  แอลกอฮอล์  และความเครียด
  5. ตอบ: 
    • เส้นทางเดินรถฝั่งไปและกลับจะถูกแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง 
    • อนุญาตให้วิ่งได้ 110 กม./ชม.* โดยอัตโนมัติหากมิได้มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น 
    • อนุญาตให้วิ่งได้เฉพาะรถที่ออกแบบมาให้วิ่งได้เร็วกว่า 40กม./ชม. เท่านั้น เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบัส และรถบรรทุก (ทั้งนี้รถป๊อปประเภท 1 หรือที่เรียกกันว่า EU-moped จะใช้บนถนนมอเตอร์เวย์ไม่ได้ แม้ว่าจะได้รับอนุญาตให้วิ่งได้สูงสุดถึง 45 กม./ชม. ก็ตาม)
  6. ตอบ: ดูตามป้ายจำกัดความเร็ว หากป้ายให้วิ่งได้เกิน 100 กม./ชม. รถคันดังกล่าวจะวิ่งได้สูงสุดแค่ 100 กม./ชม. หากป้ายจำกัดความเร็วไว้ต่ำกว่า 100 กม./ชม. ก็ต้องปฏิบัติตามป้าย
  7. ตอบ: 90 กม./ชม.
  8. ตอบ: ไม่ได้ เพราะบนถนนมอเตอร์เวย์ ห้ามหยุด หรือจอดรถ
  9. ตอบ: ห้ามกลับรถ  ห้ามถอยรถ  ห้ามใช้ไหล่ทาง (ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน อนุโลมให้ใช้ได้)  ห้ามลากรถ (ยกเว้นกรณีเครื่องยนต์ดับ อนุโลมให้ลากรถได้ แต่ต้องลากไปตามไหล่ทาง และลากไปจนถึงทางออกจากถนนมอเตอร์เวย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดเท่านั้น)
  10. ตอบ: เพื่อปรับระดับความเร็วของรถให้เท่ากับการจราจรบนถนนมอเตอร์เวย์
  11. ตอบ: ไม่มีใครมีหน้าที่ที่ต้องให้ทางใคร ทั้งสองฝ่ายต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน
  12. ตอบ: ปรับความเร็วให้เหมาะสม และโฉบเข้าช่องว่างโดยเร็วที่สุด
  13. ตอบ: ช่วยอำนวยความสะดวกให้นาย ข. โดยการปรับความเร็วให้เหมาะสมตามสภาพการจราจร หรือย้ายไปขับบนเลนซ้ายเพื่อเปิดทางให้นาย ข. ได้ขับเข้าสู่ถนนมอเตอร์เวย์ได้อย่างปลอดภัย
  14. ตอบให้ใช้กฎของการให้ทาง คือ ต้องให้ทางรถที่อยู่บนถนนมอเตอร์เวย์ไปก่อน


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 9

  1. ตอบ: ดูจากหลักบอกเขตถนนสีส้มที่ปักเอาไว้ (plogpinnar)
  2. ตอบ: คือการที่กระบะพ่วง หรือพาหนะที่พ่วงอยู่ข้างหลังเหวี่ยงปัดเข้าหาตัวรถยนต์เวลาที่เบรก  มีลักษณะเหมือนมีดพับ
  3. ตอบ: มักจะมีสาเหตุมาจากการที่ล้อของกระบะพ่วงเกาะถนนได้ไม่ดีเท่าล้อรถยนต์
  4. ตอบ: เพื่อป้องกันอาการมีดพับ (fällknivsverkan)
  5. ตอบ: การที่ล้อรถวิ่งบนผิวน้ำแทนที่จะวิ่งสัมผัสกับพื้นถนน
  6. ตอบ: หมายถึง ยางที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการขับขี่ในฤดูหนาวโดยเฉพาะ
  7. ตอบ: เพราะดอกยางที่ดีจะช่วยรีดน้ำออกจากร่องยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ล้อรถยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น
  8. ตอบ: หมายถึง เวลาที่พื้นผิวบางส่วนของถนน หรือพื้นผิวทั้งหมดของถนนถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ น้ำแข็ง โคลนหิมะ (snömodd) หรือน้ำค้างแข็ง (frost)
  9. ตอบ: แบ่งเป็นสองประเภท คือ 1. แบบไม่ฝังหมุด (odubbade friktionsdäck) และ 2. แบบฝังหมุดโลหะ (dubbdäck)  โดยยางทั้งสองประเภทนี้มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน
  10. ตอบ: ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม ถึง 31 มีนาคม
  11. ตอบ: ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 15 เมษายน
  12. ตอบ: ระหว่างวันที่ 16 เมษายน ถึง 30 กันยายน 
  13. ตอบ: เพราะว่าหากใช้ยางฝังหมุดวิ่งบนผิวถนนธรรมดา หมุดโลหะจะไปขูดกับผิวถนน ทำให้ผิวถนนสึกและเกิดฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม
  14. ตอบ: มี หากสภาพพื้นผิวถนนจะเป็นสภาพผิวถนนแบบฤดูหนาว หรือคาดว่าจะเป็นพื้นผิวถนนจะเป็นสภาพผิวถนนแบบฤดูหนาว
  15. ตอบ: ล้อหลัง
  16. ตอบ: เพราะอาจจะทำให้รถตกขอบถนนหรือร่องข้างทางได้
  17. ตอบ: ล้อจะไม่ถูกล็อกในขณะที่เหยียบเบรกอย่างแรง จึงทำให้ยังสามารถควบคุมรถได้
  18. ตอบ: เมื่อเราเริ่มขับขึ้นไปขนานกับรถคันที่เรากำลังขับแซง ให้เริ่มเปิดไฟสูงได้
  19. ตอบ: เราต้องเปลี่ยนเป็นไฟต่ำเพื่อที่ไฟรถของเราจะได้ไม่ส่องตาผู้ขับขี่รถคันที่เพิ่งแซงเราไป
  20. ตอบ: เพราะรอยเหล่านี้จะทำให้แสงที่มากระทบกับกระจกเกิดการหักเห มาส่องตาเรา ซึ่งจะทำให้การมองเห็นแย่ลงและเป็นอันตรายต่อการขับขี่ โดยเฉพาะในยามมืด
  21. ตอบ: เปิดไฟต่ำ เพราะจะทำให้มองเห็นทางได้ดีกว่าไฟสูง
  22. ตอบ: เราจะต้องลดไฟสูงลงเป็นไฟต่ำขณะที่ขับสวนกับพาหนะทุกชนิด แม้แต่จักรยาน
  23. ตอบ: ไม่ต้อง เพราะคนเดินเท้าสามารถเบือนหน้าหนีแสงไฟไปทางอื่นได้
  24. ตอบ: ไม่ต้อง


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 10

  1. ตอบ: น้ำ และน้ำยาไกลโคล (glykol) อย่างละครึ่ง (สัดส่วน 1:1)
  2. ตอบ: ป้องกันการแข็งตัวของน้ำไม่ให้เป็นน้ำแข็ง และป้องกันสนิม
  3. ตอบ: เพราะหากเราเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อนอยู่ เราอาจจะถูกไอร้อนพุ่งออกมาลวกร่างกายได้
  4. ตอบ: ก๊าซไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (knallgas) เพราะมันเป็นก๊าซไวไฟ ที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดได้
  5. ตอบ: น้ำกลั่น และน้ำกรดกำมะถัน (svavelsyra)
  6. ตอบ: เพราะในน้ำมันมีสารก่อมะเร็ง
  7. ตอบ: อาจมีสิ่งสกปรก หรือมีอากาศในระบบ
  8. ตอบ: แต่ละวงจรจะควบคุมการเบรกแค่สองล้อ  หากมีการรั่วซึมของน้ำมันเบรกในวงจรใดวงจรหนึ่ง เบรกในวงจรที่เหลือก็ยังคงทำงานได้

  9. ตอบ: เนื่องจากน้ำมันเบรกจะดูดซับความชื้นและทำให้จุดเดือดต่ำลง ซึ่งอาจทำให้เบรกหยุดทำงานหากมีการเบรกอย่างแรง

  10. ตอบ: อาจมีรอยรั่ว (läckage) ในระบบเบรก ห้ามขับโดยเด็ดขาด

  11. ตอบ: เราควรทำการไล่ความชื้นออกจากระบบโดยการลองเหยียบเบรก เพื่อทำให้เบรกร้อนและไล่ความชื้นให้ระเหยไป

  12. ตอบ: มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวหนัง

  13. ตอบ: อย่างน้อย 3 มม.

  14. ตอบ: ข้อดีคือ มีความสามารถในการเกาะพื้นถนนที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะที่อัดกันจนแข็งได้ดีกว่ายางแบบธรรมดา  ข้อเสียคือ เวลาที่วิ่งบนถนนที่ไม่มีน้ำแข็งหรือหิมะปกคลุม หมุดโลหะที่ฝังอยู่จะขูดพื้นถนนให้เป็นรอย และฝุ่นที่ฟุ้งกระจายออกมายังเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย

  15. ตอบ: ขอบนอกของหน้ายางจะสึกมากกว่าส่วนอื่น  ความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักจะลดน้อยลง และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น

  16. ตอบ: ส่วนกลางของหน้ายางจะสึกเร็วกว่าส่วนอื่นๆ

  17. ตอบ: ใช้ก้านวัดน้ำมันเครื่องที่ติดมากับรถในการวัดปริมาณและสีของน้ำมันเครื่องในถัง

  18. ตอบ: เพื่อป้องกันการแข็งตัวของน้ำที่จะเกิดเป็นน้ำแข็ง

  19. ตอบ: เราต้องดับเครื่องยนต์ทันที

  20. ตอบ: ต้องคาดให้แนบลำตัวและดึงให้ตึงที่สุด โดยสายคาดต้องไม่งอหรือพับ
  21. ตอบ: เพราะหากเกิดอุบัติเหตุท้องอาจจะกระแทกกับพวงมาลัยและถุงลมนิรภัย
  22. ตอบ: เพราะไม่อย่างนั้นตัวเราอาจเหวี่ยงไปกระแทกกับถุงลมขณะที่ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอันตรายได้
  23. ตอบ: อย่างน้อย 25 เซนติเมตร
  24. ตอบ: เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากถุงลมหากเกิดอุบัติเหตุ
  25. ตอบ: ปิดระบบถุงลมนิรภัยก่อน
  26. ตอบ: ช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการที่คอสะบัดอย่างรุนแรงเมื่อถูกชนจากข้างหลัง (pisksnärt skador/whiplash)
  27. ตอบ: ไม่เกิน 20 ซม.
  28. ตอบ: ไม่เกิน 260 ซม.
  29. ตอบ: ไม่เกิน 24 เมตร
  30. ตอบ: ใช้ไฟสีแดงและตัวสะท้อนแสง (reflex) สีแดงติดไว้ เพื่อให้รถคันอื่นเห็นได้ชัดเจน
  31. ตอบ: เพราะว่าใบอนุญาตขับขี่ประเภท B ที่เรา(จะ)มีนั้น  อนุญาตให้เราขับรถยนต์ที่พ่วงด้วยกระบะพ่วงขนาดเบาเท่านั้น เราจึงต้องทราบว่ากระบะพ่วงที่เราจะพ่วงกับรถยนต์นั้นเป็นประเภทใด
  32. ตอบ: น้ำหนักรถในสภาพพร้อมขับขี่ + น้ำหนักคนขับ (ประมาณ 70 กก.) ซึ่งสภาพรถพร้อมขับขี่จะหมายถึง รถมีอุปกรณ์อะไหล่รถที่จำเป็นตามมาตรฐาน มียางสำรอง และน้ำมันพร้อมสำหรับการขับขี่ แต่จะไม่รวมน้ำหนักสัมภาระและผู้โดยสาร
  33. ตอบ: หมายถึง น้ำหนัก หรือแรงกด ที่กระบะพ่วงกดลงบนดุมโลหะท้ายรถยนต์ที่มีไว้เพื่อเชื่อมกระบะพ่วงเข้ากับรถยนต์
  34. ตอบ: หน้ารถจะทิ่มลงท้ายรถจะเชิด ล้อไม่ยึดถนนเท่าไหร่ ทำให้กระบะพ่วงส่ายหรือเลื้อยไปตามทาง ทำให้ความเสี่ยงที่รถจะคว่ำมีสูง
  35. ตอบ: หน้ารถจะเชิดท้ายรถจะทิ่มลง  ไฟต่ำที่เราใช้จะส่องสูงขึ้นและไปแยงตาผู้ขับขี่คนอื่นๆ  นอกจากนี้ยังจะทำให้การควบคุมพวงมาลัยเป็นไปได้ยากขึ้นด้วย
  36. ตอบ: เพราะตู้คาราวานมักจะมีขนาดกว้างกว่ารถยนต์ ทำให้กระจกข้างรถยนต์เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้เรามองเห็นได้อย่างทั่วถึง
  37. ตอบ: เพราะตู้คาราวานมีขนาดใหญ่และต้านลมมากจึงอาจถูกพัดตกถนนได้
  38. ตอบ: 30 กม./ชม.
  39. ตอบ: ต้องทำเครื่องหมายที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนไว้ที่สายลาก
  40. ตอบ: จะถูกห้ามไม่ให้ใช้รถ (körförbud) โดยอัตโนมัติ
  41. ตอบ: ภายใน 10 วัน
  42. ตอบ: หมายถึง การที่บริษัทประกันชำระค่าสินไหมทดแทนไปก่อน แต่จะมาเรียกเก็บเงินคืนจากผู้เอาประกันที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในภายหลัง
  43. ตอบ: 1. รถป๊อปประเภท 1 ที่มีสามหรือสี่ล้อ   2. รถแทรกเตอร์ ประเภท เอ   3. รถใช้งานเกษตรกรรมประเภท 2


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 11

  1. ตอบ: คาร์บอนมอนน็อกไซด์ (Kolmonoxid/Koloxid)
  2. ตอบ: ทำให้เลือดดูดซึมออกซิเจนได้น้อยลง มีอาการเหนื่อยและไม่มีสมาธิ  เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
  3. ตอบ: คาร์บอนไดออกไซด์ (Koldioxid)
  4. ตอบ: เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ทั้งเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และเชื้อเพลิงชีวภาพ
  5. ตอบ: ไม่ได้
  6. ตอบ: คาร์บอนไดออกไซด์ (koldioxid) และน้ำ (vatten)
  7. ตอบ: เพราะเครื่องกรองไอเสียรถยนต์จะเริ่มทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีอุณภูมิสูงพอ รถที่เพิ่งเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือเดินทางในระยะสั้นๆ จะยังไม่มีอุณหภูมิที่สูงพอ
  8. ตอบ: ใช้ตัวอุ่นเครื่องยนต์ (motorvärmare) เพื่อช่วยก่อนการสตาร์ทเครื่องยนต์
  9. ตอบ: 1. น้ำมันเบนซิน 2. น้ำมันดีเซล 3. ก๊าซธรรมชาติ
  10. ตอบ: 1. เอทานอล 2. ไบโอแก๊ส
  11. ตอบ: เชื้อเพลิงเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
  12. ตอบ: เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาผลาญเชื้อเพลิงชนิดนี้จะมีปริมาณเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชใช้ไปก่อนที่จะถูกเก็บเกี่ยวมาทำเชื้อเพลิง
  13. ตอบ: ยางรถยนต์เก่าที่ผ่านการเสริมดอกยางใหม่ตรงส่วนที่สึกหรอ
  14. ตอบ: ข้อดี คือ ยางประเภทนี้ดีต่อสิ่งแวดล้อม ข้อเสีย คือ คุณสมบัติในการขับขี่อาจจะลดลงบ้าง
  15. ตอบ: แรงดันลมยางที่ต่ำเกินไปทำให้แรงต้านทานการหมุนของล้อเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ล้อหมุนฝืดขึ้น  จึงสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
  16. ตอบ: เพราะท่อระบายน้ำเหล่านี้ใช้เพื่อระบายน้ำฝนไปยังแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดโดยตรง โดยไม่มีการบำบัดน้ำเสียก่อน  ดังนั้นน้ำเสียที่เราปล่อยไปจึงอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในแหล่งน้ำดังกล่าว


แบบฝึกท้ายบท บทที่ 12

  1. ตอบ: การท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทองเพื่อการสอบเท่านั้นโดยไม่ได้ทำความเข้าใจกับเนื้อหา
  2. ตอบ: การทำความเข้าใจบริบทและที่มาของกฏต่างๆ อย่างถ่องแท้  ทำให้จำสิ่งที่เรียนได้นานกว่าการเรียนรู้อย่างผิวเผิน
  3. ตอบ: การสรุปความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นจากความคุ้นเคย
  4. ตอบ: ประมาณ 1 – 2 เปอร์เซ็นต์
  5. ตอบ: ทำให้การมองเห็นทางหางตาของเราแย่ลง (periferiseende) กล่าวคือ ความกว้างของลานสายตาที่เรามองเห็นจะลดลง จึงทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้น้อยลง
  6. ตอบ: ผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์จะ
    • สอดส่ายสายตาเพื่อสำรวจสิ่งรอบข้างมากกว่า
    • ให้ความสนใจกับสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าการเพ่งมองวัตถุที่อยู่กับที่
    • มองไปข้างหน้าไกลๆ ทำให้มองเห็นสิ่งกีดขวาง หรืออันตรายได้เร็วกว่า
  7. ตอบ: ไม่ได้
  8. ตอบ: ไม่ได้ เพราะกฎหมายระบุว่า ตามทางเอกจะมีการห้ามไม่ให้จอดรถ การหยุดรถที่ไม่ใช่การหยุดเพื่อให้คนขึ้น – ลง หรือเพื่อการขนของขึ้น – ลง  ถือว่าเป็นการจอดทั้งสิ้น
  9. ตอบ: ผู้ขับขี่วัยรุ่น  โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง พวกที่กลัวเสียหน้า และพวกที่เกิดภาวะเครียดง่าย
  10. ตอบ: ชายวัยรุ่น (unga män)
  11. ตอบ: ช่วงดึกของวันสุดสัปดาห์
  12. ตอบ:
    • ใช้แฮนด์ฟรี (ไม่ถือมือถือไว้ในมือ) 
    • ใช้ระบบฝากข้อความ (เราไม่รับสายขณะขับ) 
    • ขอให้ผู้โดยสารรับสายแทน หรือโทรแทนเรา
  13. ตอบ: 
    • รู้สึกเฉื่อยๆ 
    • คิดได้ช้า 
    • เริ่มหาว 
    • รู้สึกหนาว 
    • ตาแห้ง 
    • มีอาการแสบตาและกระพริบตาบ่อยๆ  
    • อาการวูบหลับหรือที่เรียกว่าการหลับใน (mikrosömn) 
    • ฯลฯ

แบบฝึกท้ายบท บทที่ 13

  1. ตอบ: การเมาแล้วขับ การขับเร็วเกินไป ความง่วง หรือการหลับคาพวงมาลัย (หลับใน)
  2. ตอบ: การขับใกล้รถคันข้างหน้ามากเกินไป ผู้ขับขี่ขาดสมาธิ และการขับด้วยความเร็วสูงในขณะที่สภาพการจราจรทั่วๆ ไปไม่ดี
  3. ตอบ: นโยบายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจราจรจนกว่าจะสามารถลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสหรือผู้เสียชีวิตจากการจราจรให้เหลือแค่ศูนย์
  4. ตอบ: ต้องรอ เพื่อให้ข้อมูล และรายละเอียดแก่ตำรวจ
  5. ตอบ: ชื่อเรา ชื่อสถานที่เกิดเหตุ ประเภทของอุบัติเหตุ จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและให้บอกว่ามีอาการบาดเจ็บประเภทใดบ้าง  หากรถคู่กรณีบรรทุกวัตถุอันตราย บนป้ายเขียนว่าอย่างไร  เราโทรจากเบอร์ไหนและเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับมาหาเราได้อย่างไร
  6. ตอบ: รถที่บรรทุกวัตถุอันตรายจะมีป้ายสีส้มติดเตือนไว้
  7. ตอบ: 
    • L – Livsfarligt läge  (ภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต) 
    • A – Andning (มีอุปสรรคในการหายใจ) 
    • B – Blödning (เสียเลือด) 
    • C – Chock (อาการช็อก)
  8. ตอบ: ใช้เพื่อช่วยเตือนความจำเรื่องลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุตามลำดับก่อนหลัง โดยเริ่มจาก L – Livsfarligt läge ไปจนถึง C – Chock (ภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ไปจนถึง ผู้มีอาการช็อก )
  9. ตอบ: เพื่อที่ลิ้นหรือสิ่งที่ผู้ป่วยอาเจียนออกมาจะได้ไม่ไปอุดตันทางเดินหายใจ
  10. ตอบ: การที่เลือดไม่สามารถหมุนเวียน หรือหมุนเวียนได้ไม่ดี ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  11. ตอบ: ไม่ ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มน้ำโดยเด็ดขาด
  12. ตอบ: จัดศีรษะให้อยู่ต่ำกว่าเท้าเล็กน้อยเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้สะดวกขึ้น  ให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ  คลุมตัวผู้ป่วยให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น  และหากไม่จำเป็นห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  13. ตอบ: ติดต่อกับเจ้าของรถหรือทรัพย์สินนั้น  หากติดต่อไม่ได้ให้เขียนชื่อและที่อยู่ของเราทิ้งไว้ที่หน้ารถหรือที่จุดเกิดเหตุ  หลังจากนั้นให้โทรแจ้งตำรวจให้ลงบันทึกไว้ เพื่อที่จะได้ไม่โดนข้อหาหลบหนีจากที่เกิดเหตุ (smitning)