Verb - Adjektiv - Adverb คำกริยา คำคุณศัพท์ และคำวิเศษณ์ ภาษาสวีเดน

คำ ๓ ชนิด ที่คนไทยมักจะมีปัญหาเวลาเรียนภาษาสวีเดนคือ

  • คำกริยา (verb)
  • คำคุณศัพท์ (adjektiv)
  • คำวิเศษณ์ (adverb)

เหตุผลเพราะว่าคำสามชนิดนี้ ในภาษาไทย เราใช้เหมือน หรือ ค่อนข้างเหมือนกัน

พอเรามาเรียนภาษาสวีเดน เขาใช้ไม่เหมือนกัน และวางตำแหน่งในประโยคต่างกัน

ถ้าเรามีปัญหา ไม่ทราบว่าเวลาพูด หรือเขียนประโยค จะเอาคำไหนขึ้นก่อนขึ้นหลัง

การลงทุนเรียน และทำความเข้าใจเรื่องชนิดของคำ จะทำให้เราแต่งประโยคได้เองได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นค่ะ

คำกริยา (verb)

  • บอกการกระทำ อริยาบท เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ยิ้ม ร้องไห้ ตะโกน
  • หากเราได้ยินคำกริยา เราจะนึกภาพกริยาอาการนั้น ๆ ออกทันที
  • ทุกชาติทุกภาษามีกริยาอาการเหมือนกัน
  • หรือ หากเราเห็นคนทำกริยาท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็จะนึกคำออก (ในภาษาที่เราถนัดว่าคน ๆ นั้น ทำกริยาอาการอะไร

คำคุณศัพท์ (adjektiv)

  • บอกคุณสมบัติ สภาพ ความรู้สึก
  • คำคุณศัพท์บางคำ เมื่อเราเห็น เราสามารถบอกได้ง่าย ๆ เช่น ขาว ดำ แดง เหลือง
  • คำคุณศัพท์บางคำ เราไม่สามารถเดาได้ เช่น เพราะมันเป็นความรู้สึกเฉพาะตน ถ้าเจ้าตัวเขาไม่แสดงออกอย่างชัดเจน เราก็เดาไม่ได้ เช่น โกรธ หิว เบื่อ พอใจ ปวดปัสสาวะ

วิธีง่าย ๆ ที่จะเช็คว่าคำนั้นเป็นคุณศัพท์ หรือกริยา คือ ถ้าใช้คำว่า รู้สึกนำหน้าได้ แสดงว่าเป็นคุณคุณศัพท์ เช่น

  • ฉันรู้สึกโกรธ  (โกรธ เป็นคุณศัทพ์)
  • ฉันรู้สึกหิว (หิว เป็นคำคุณศัพท์)
  • ฉันรู้สึกเบื่อ (เบื่อ เป็นคำคุณศัพท์)
  • ฉันรู้สึกพอใจ (พอใจ เป็นคำคุณศัพท์)
  • ฉันรู้สึกปวดปัสสาวะ (ปวดปัสสาวะ เป็นคำคุณศัพท์)

สำหรับคนที่ไม่พื้นไวยากรณ์ไทย อังกฤษ หรือสวีเดนมาก่อน

ให้คิดง่าย ๆ ว่า คำคุณศัพท์ ใช้เล่าเรื่อง บรรยาย หรือขยายความ คน สัตว์ หรือสิ่งของ เช่น

  • ฉันหิว (หิว บรรยายว่า คน รู้สึกอย่างไร คือ รู้สึกหิว)
  • แมวน่ารัก (น่ารัก บรรยาย สัตว์)
  • โต๊ะเตี้ย (เตี้ย บรรยาย โต๊ะ)

คนที่มีพื้นฐานไวยากรณ์มาแล้ว ทางไวยากรณ์ มักจะบอกว่า คำคุณศัพท์ ใช้บรรยายคุณสมบัติของคำนาม (และคำสรรพนาม)


Adverb (คำวิเศษณ์)

  • จะคล้าย ๆ  Adjektiv แต่จะต่างกันตรงที่ Adverb ไม่ได้ขยาย นาม หรือ สรรพนาม
  • แต่จะขยายคำอื่น ๆ เกือบทั้งหมด
  • วิธีคิดง่าย ๆ คือ Adverb ขยาย Verb (กริยา)

แต่ครูไม่อยากให้นักเรียนหยุดอยู่แค่นี้

เพราะ Adverb มันมีตั้ง ๖ กลุ่ม

Adverb ที่ขยายกริยา เป็นแค่ ๑ ในจำนวน ๖ กลุ่มเท่านั้น

แต่เบื้องต้นให้คิดแบบนี้ก่อนก็ได้ค่ะ

เพื่อจะได้แยกได้ระหว่าง Verb, Adjektiv และ Adverb

แล้วเรามาดูกันอย่างละเอียดยิ่งขึ้นบทเรียนต่อ ๆ ไปนะคะ

กอด ๆ

มะกรูด

สมัครเรียนได้ที่ Facebook: Magrood Bergamot

นักเรียนคอร์สไวยากรณ์สวีเดน ดูคลิปทบทวนได้ตามนี้นะคะ

ห้องแดง

หน้า 7-8 ชนิดของคำ (Ordklasser) และส่วนประกอบของประโยค (Satsdelar) #ต้องดู

หน้า 195 Adverb (คำวิเศษณ์) #ต้องดู

หน้า 183 เกริ่นนำ Adjektiv

หน้า 159 Adjektiv (คุณศัพท์) #ต้องดู

หน้า 159 Adjektiv (คุณศัพท์) รอบ 2  #ต้องดู

หน้า 160 ตัวอย่างคำคุณศัพท์ (Adjektiv)

ห้องเขียว

SFI - Adverb หรือ Adjektiv #ต้องดู

SFI - Sättsadverb ที่คล้าย ๆ กับ Adjektiv #ต้องดู

...särskilda kvinnor กับ ...särskilt kvinnor #ต้องดู

หน้า 167 Adverb มี่กี่ประเภท และถ้าในประโยคมี adverb หลายตัวจะเรียงลำดับอย่างไร #ต้องดู

SFI - Verb, Particip, Adjektiv เชื่อมโยงกันอย่างไร - Köttätande djur