กริยา 3 - กริยามีกรรม (objekt)
กริยาบางตัว จะมีความพิเศษคือ มันต้องมีกรรม เช่น กริยา ”รัก”
เวลาเราพูดว่า ฉัน รัก ... (แล้วมันไม่สุด ไม่จบ คนฟังไม่เข้าใจว่ารักใคร ดังนั้นเราจึงต้องระบุไปว่ารักใคร)
คนที่ได้รับผลของความรัก (ได้รับความรัก) คนนั้น ภาษาไวยากรณ์เขาเรียกกว่า ”กรรม” ค่ะ
กรรม คือ คน/สิ่งที่ได้รับ ”ผลของการกระทำ” (ทั้งผลดี และผลเสีย)
(สอนภาษาสวีเดนดี ๆ หลุดไปธรรมะซะแล้ว) :-)
กริยาที่พูดไปแล้ว ”มันไม่สุด” มันไม่กระจ่าง มันต้องมีอะไรบางอย่างมาต่อท้าย ให้ได้ใจความสมบูรณ์ เขาเรียก กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับค่ะ เช่น คำว่า รัก ถ้าจะแต่งประโยคให้คนฟังเข้าใจ ต้องใส่กรรมที่เหมาะสมเข้าไป
ถ้าเราคุยกับแฟน กรรมที่เหมาะสม (คนที่เหมาะสมจะได้รับความรักของเรา ก็ควรจะเป็นแฟนเนาะ ถ้าไปใส่ชื่อ Kalle อย่างที่ครูชอบใช้ คงมีเรื่องกันได้ ... หุหุ)
ฉัน รัก คุณ
Jag älskar dig. (dig = คุณ ที่ทำหน้าที่กรรม รับผลของกริยา ”รัก”)
หากอยากเก่งไวยากรณ์สวีเดนขึ้นไปอีกขั้น เราควรเรียนรู้ว่า
กรรมบางตัว จะต้องเป็นกรรมสะท้อน (หมายถึงประธาน และกรรม เป็นคน ๆ เดียวกัน ...กรรมสะท้อนกลับไปที่ประธาน)
เช่น โกน(ผม/หนวด)
Jag rakar mig.
ฉันโกน(ฉัน) / ฉันโกนผม/หนวด
Jag = ฉัน เป็น ประธาน ในประโยค
mig = ฉัน เป็น กรรม ในประโยค
คนโกน (ประธาน) และคนได้รับผลของการโกน (กรรม) คือ คนเดียวกัน
Jag kammar mig.
ฉันหวี(ฉัน) / ฉันหวีผม(ฉัน)
Jag = ฉัน เป็น ประธาน ในประโยค
mig = ฉัน เป็น กรรม ในประโยค
คนหวี (ประธาน) และคนได้รับผลของการหวี (กรรม) คือ คนเดียวกัน
คำสุดท้ายที่ครูจะแนะนำคือคำว่า จดจ่อ คำนี้ ต้องใช้กรรมแบบสะท้อนค่ะ
ฉันจดจ่อ... Jag koncentrerar mig …
ที่นี้ คนสวีเดนเขาว่า ประโยคนี้มันไม่สุด มันไม่สมบูรณ์
คนฟังอยากรู้ว่า จดจ่อกับอะไร เราจึงควรเขียน/พูดไปด้วยว่าเราจดจ่อกับอะไร
นักเรียนยังจำได้ใช่ไหมคะว่า กริยาบางตัวต้องมีผัว (på) มาด้วย โดยเฉพาะกริยาที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
กริยาตัวนี้ ก็เข้าข่ายนั้นค่ะ
ถ้าเราจดจ่อที่งานของเรา เราก็เขียนว่า
Jag koncentrerar mig på mitt arbete.
ฉัน จดจ่อ / ตั้งใจ กับงานของฉัน
ทบทวนไวยากรณ์สวีเดน หัวข้อก่อนหน้านี้ได้ที่ลิงค์นี้ค่ะ
สอนภาษาสวีเดน - กริยา (Verb) ตอนที่ ๒
สมัครเรียนไวยากรณ์สวีเดน เรียนผ่านคลิป และมีแบบฝึกหัดให้ทำ พร้อมเฉลยได้ที่
Facebook: Magrood Bergamot
กอด ๆ
มะกรูด